วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 4

บทที่ 4 ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

ความแตกต่างของระบบปฏิบัติการ

       ระบบปฏิบัติการชนิดต่างๆถูกออกแบบและสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความต้องการแตกต่างกันไป ดังนี้

อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ

      อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ สามารถถูกออกแบบให้อยู่ในรูปแบบของการโต้ตอบด้วยคำสั่ง หรือแบบกราฟฟิกก็ได้ โดยที่

      อินเตอร์เฟซแบบคำสั่ง (Command Line)

       เป็นอินเตอร์เฟซที่ผู้ใช้ต้องมีความรู้ด้านการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ผ่านคำสั่งต่างๆ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงต้องรู้ว่า ต้องป้อนคำสั่งอะไรลงไปเพื่อโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์หรือสั่งงานให้เครื่่องทำ

      อินเตอร์เฟซแบบการฟฟิก (Graphics User Interface : GUI)

       เป็นระบบปฏิบัติการยุคใหม่ อินเตอร์เฟซเพื่อการโต้ตอบมักถูกออกแบบเป็น GUI ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามแล้วยังดึงดูดความสนใจแก่ผู้ใช้และยังช่วยให้การโต้ตอบระหว่างกันสะดวกมากยิ่งขึ้น  เช่น MS-Windows และ MAC-OS ในขณะที่ระบบปฏิบัติการ Unix และ Linux ก็จะมีเวอร์ชั่นทั้งแบบ Command Line และ GUI

ประเภทของระบบปฏิบัติการ

เป็นระบบปฏิบัติการ ยังถูกจัดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

       ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล (Personal Operating Systems)

       เป็นระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้งานส่วนบุคคลเป็นหลัก ในลักษณะของผู้ใช้คนเดียว เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows แต่อย่างไรก็ตามระบบปฏิบัติการจากค่ายไมโครซอฟต์นอกจากจะนำมาใช้ส่วนตัวได้แล้ว ยังสามารถตั้งค่าเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายเล็กๆ เชื่อมต่อกันรวมถึงการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายระดับองค์กรและเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

       ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating Systems)

       เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานระบบเครือข่ายเป็นหลักสามารถรองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องลูกข่ายต่างๆเข้าด้วยกันโดยมีศูนย์บริการที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เป็นเครื่องแม่ข่ายหรือที่มักเรียกกันว่า โฮสต์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการเครือข่าย เช่น Windows Sever , Novell NetWare และ Unix เป็นต้น


https://support.novell.com/techcenter/articles/img/ana1997050418.gif


https://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/4/4e/Windows_Server_2008_R2_Datacenter.png


       นอกจากระบบปฏิบัติการบุคคลและระบบปฏิบัติการเครือข่ายแล้ว ยังมีระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานงานแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น เครื่องคิออส  เครื่องบันทึกเงินสด รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน

       โดยทั่วไปแล้ว ระบบปฏิบัติการมักถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนซีพียูประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ใช้งานกับซีพียูเครื่องพีซีทั่วไป เครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์เลื่อนที่นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต และ 64 บิต ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ก็จะมีทั้งแบบ 32 บิต และ 64 บิตให้เลือกใช้งาน สถาปัตยกรรมของซีพียูที่ใช้งานบนเครื่องพีซีทั่วไป ก็ยังมีทั้งซีพียูแบบ CISC และ RISC

       ซีพียู  CISC (Complex Instruction Set Computing)

       สถาปัตยกรรมของซีพียูชนิดนี้ ภายในซีพีูจะประกอบไปด้วยชุดคำสั่งภายในจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นชุดคำสั่งพื้นฐานและชุดคำสั่งที่มีวคามซับซ้อน โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนซีพียูชนิดนี้ จะใช้ประโยชน์จากคำสั่งที่อยู่ภายในซีพียูได้ทันที จึงทำให้ตัวโปรแกรมเขียนได้ง่ายขึ้นและสั้นลง อย่างไรก็ตาม ด้วยชุดคำสั่งที่มากถึง 200- 300 ชุด ย่อมส่งผลให้ซีพียูมีขนาดใหญ่ขึ้น ใช้พลังงานมากขึ้น ร้อนสะสมสูงขึ้น  ตัวอย่างซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ CISC  เช่น ชิปตระกูล Intel และ AMD ซึ่งพีซีคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้ ล้วนเป็นซีพียูแบบ CISC ทั้งสิ้น

ประสิทธิภาพ
1.เนื่องจาก CISC มีชุดของคำสั่งที่ซับซ้อนมากกว่า RISC และในคำสั่งพิเศษที่มีอยู่ใน  CISC นั้น
 (หรือคำสั่งยากๆ)  เช่น การแก้สมการในการทำงานหนึ่งคำสั่งของ CISC อาจใช้เวลา(สัญญาณนาฬิกา) มากกว่าการนำเอาคำสั่งที่มีอยู่ใน RISC หลายๆคำสั่งมารวมกันเสียอีก
2.ประสิทธิภาพอาจลดลงเนื่องจากเสียเวลาในการถอดรหัส เพราะชุดคำสั่งของ CISC ไม่แน่นอน มีทั้งสั้นและยาว อีกทั้งวงจรมีความสลับซับซ้อนมาก
 และใช้วงรอบสัญญาณนาฬิกานาน จึงทำให้เสียค่าใช่จ่ายสูง และใช้เวลานานกว่าในการประมวลผล

https://4.bp.blogspot.com/-L_DOE4gH1zw/V1vKRTYxQeI/_2.jpg 


      ซีพียู RISC (Reduced Instruction Computing)

       เป็นสถาปัตยกรรมของซีพียูที่มีแนวคิดตรงข้ามกับ CISC อย่างสิ้นเชิงโดยภายใน RISC จะมีชุดคำสั่งที่น้อยกว่า โดยบรรจุชุดคำสั่งพื้นฐานง่ายๆที่ใช้งานเป็นประจำ ชุดคำสั่งส่วนใหญ่ล้วนจำเป็นต่อการถูกเรียกใช้งานจากโปรแกรมอยู่บ่อยๆนั่นเอง ส่วนคำสั่งที่ซับซ้อนก็จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการในการนำคำสั่งพื้นฐานที่มีอยู่มาประกอบเข้าด้วยกัน ทำให้การประมวลผลคำสั่งของ ซีพียู RISC ใช้เวลาน้อยกว่า CISC ด้วยภายในที่มีการบรรจุเฉพาะชุดคำสั่งพื้นฐานอจึงทำให้ซีพียูมีขนาดเล็ก และใช้พลังงานน้อยกว่า ตัวอ่ายงซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม RISC  เช่น ชิปตระกูล Power PC , Silicon Graphics และ DEC Alpha เป็นต้น

ประสิทธิภาพ
1.การทำงานจะทำได้เร็วกว่า CISC เพราะ  RISC ประกอบด้วยคำสั่งง่ายๆ เช่น LOAD/STORE
 ใช้ในการโหลดข้อมูลเก็บไว้ในเรจิสเตอร์โดยตรงและให้เรจิสเตอร์ทำการประมวลผลจากนั้นค่อยเก็บไว้ในหน่วยความจำ (โดยทั่วไปการทำงานของคอมพิวเตอร์เรียงลำดับความเร็ว มีดังต่อไปนี้ CPU REGISTER   MEMORY  DISK )
2.เนื่องจากการเข้ารหัสชุดคำสั่งเป็นลักษณะ FIX-ENCODING จึงง่ายต่อการถอดรหัส
3.ในสถาปัตยกรรมแบบ  RISC มีเรจิสเตอร์จำนวนมากจึงทำให้การทำงานโดยรวมรวดเร็ว
4.การใช้งานคำสั่งง่ายๆ ของ RISC นี้ บางคำสั่งใช้เวลา(วงรอบสัญญาณนาฬิกา)  ไม่ถึง 1 สัญญาณนาฬิกา  จึงส่งผลให้ทำงานได้รวดเร็ว

ทั้งซีพียูแบบ CISC และ RISC ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียปะปนกันไปตามตารางดังนี้

อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือเรียนวิชาการใช้งานระบบปฏิบัติการ หน้า 104


ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเซิร์ฟเวอร์

ในที่นี้ จะกล่าวถึงระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ DOS , Windows , Windows Server ,  Mac-OS , Unix , Linux

ดอส (Disk Operating System : DOS)

       ระบบปฏิบัติการ DOS จัดเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงปี พ.ศ. 2523  ถึงปี พ.ศ. 2553 ถูกออกแบบใช้งานบนเครื่องพีซีในยุคเริ่มต้น เป็นระบบปฏิบัติการที่ประมวลผลแบบงานเดียว โดยมีอินเตอร์เฟซเป็นแบบคำสั่งที่เรียกว่า Command Prompt อย่างไรก็ตามในระบบปฏิบัติการ Windows ก็ยังผนวกการโต้ตอบแบบคำสั่งเอาไว้สำหรับผู้ที่ยังคงชื่นชอบรูปแบบโต้ตอบชนิดนี้


https://alaninkenya.org/wordpress/wp-content/uploads/2011/06/free_dos_screenshot.jpg

วินโดวส์ (Windows)

       ระบบปฏิบัติการ Windows  จากค่ายไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีวิวัฒนาการมายาวนานหลายปี ในปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 90 % มีหลาหลายเวอร์ชั่นหลากหลายระดับให้เลือกใช้ ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล ระบบปฏิบัติการเครือข่าย และระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ รายละเอียดต่อไปนี้ จะสรุปประวัติโดยย่อของระบบปฏิบัติการ Windows ในเวอร์ชั่นต่างๆตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

https://www.google.co.th/1481686154782391

Windows 1.0 ถึง Windows  XP

       บริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวแรกคือ Windows 1.0  เมื่อปี พ.ศ. 2528 เพื่อทดแทนระบบปฏิบัติการ DOS จนในที่สุดก็ได้ระบบปฏิบัติการ Windows 3.11 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่มีอยู่ทั่วโลก แต่ยังมีข้อจำกัดคือ ยังต้องพึ่งพาระบบปฏิบัติการ DOS อยู่ถัดจากนั้นมาจนปี พ.ศ. 2538-2543 ก็ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เช่น Windows 95 , Windows 98  เป็นต้นและไม่ต้องพึ่งพาระบบปฏิบัติการ DOS อีกต่อไป อีกทั้งยังพัฒนาระบบไฟล์จากเดิมที่เคยใช้คือ FAT-16 บิต มาเป็น FAT-32 บิต และ NTFS ตามลำดับ

http://www.dosgamers.com/uploads/images/original/windowsxp.jpg

Windows Vista 

       ในช่วง พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟต์ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Vista เพื่อทดแทน Windows XP ที่มีการใช้งานมายาวนาน โดยมีจุดเด่นตรงที่ เป็นระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนระบบ 64 บิต พร้อมกับปรับปรุงประสิทธิภาพต่างๆเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง แต่ระบบ Windows Vista มีกระแสตอบรับที่ไม่ดี ถือว่าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงโดยเฉพาะเรื่องของการใช้ทรัพยากรระบบสูงและทำงานค่อนข้างช้า ทำให้คนส่วนใหญ่ ใช้งาน Windows XP ตามเดิม

Windows 7

       สองปีถัดมาทางไมโครซอฟต์ก็ได้ซุ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows 7 และเปิดตัวใช้งานปี พ.ศ. 2552 โดยทีมงานประกาศว่าระบบปฏิบัติการ Windows 7 จะเป็นระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นการเรียกคืนความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง หลังจากประสบความล้มเหลวจากปฏิบัติการ Windows Vista  ในที่สุด ทางไมโครซอฟต์ก็ประสบความสำเร็จ ระบบปฏิบัติการ Windows 7 กลับมาทำยอดจำหน่ายให้ ไมโครซอฟต์อีกครั้ง และสร้างยอดจำหน่ายสูงสุดตลอดกาลอีกด้วย

http://www.top-windows-tutorials.com/images/2013/05/windows-7-desktop.png


Windows 8

       ในปี พ.ศ. 2555 ทางไมโครซอฟต์ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 8  โดยมีการปรับปรุงรูปโฉมใหม่ของวินโดวส์ทั้งหมด ด้วยอินเตอร์เฟซใหม่ที่ทางไมโครซอฟต์ใช้ชื่อว่า "Metro Interface" ซึ่งคล้ายกันกับ Windows Phone ที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และยังรองรับจอภาพแบบสัมผัส เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นต่างๆได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ผู้ใช้งาน Windows 8 ยังสามารถเลือกอินเตอร์เฟซเพื่อการโต้ตอบแบบ Desktop View ที่คุ้นเคยมายาวนานได้เหมือนเดิม

http://i1-news.softpedia-static.com/images/news2/Microsoft-Gives-Advice-on-How-to-Troubleshoot-Windows-8-Apps-2.png

Windows Server

       เป็นระบบปฏิบติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) จากค่ายไมโครซอฟต์ที่ถูกออกแบบให้ใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ มักใช้งานตามองค์กรทั่วไป ตัวอย่างเช่น Windows Server 2003 , Windows Server 2008  เป็นต้น สำหรับข้อเด่นของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจากค่ายไมโครซอฟต์ก็คือ มีโปรแกรมสนับสนุนมากมาย อีกทั้งการเชื่อมต่อ อีกทั้งการเชื่อมโยงลูกข่ายเข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นจะง่ายมากหากเครื่องลูกข่ายใช้ระบบปฏิบัติการจากค่ายไมโครซอฟต์เหมือนกัน

https://pbs.twimg.com/media/CeG7D70UIAAp6Fi.jpg


แมคโอเอส (Mac-OS)

       ระบบปฏิบัติการ MAC เป็นผลิตภัณฑ์จากค่ายแอปเปิลที่ออกแบบมาใช้งานบนเครื่องแมคโดยเฉพาะ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นจากพื้นฐานระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยอินเตอร์เฟซแบบกราฟฟิก (GUI) ในรูปแบบหน้าต่างซ้อนๆกัน ถือเป็นต้นแบบที่ทางแอปเปิลเป็นผู้บุกบเิกเป็นรายแรก อย่างไรก็ตาม Mac-OS จัดเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ใช้งานค่อนข้างเฉพาะ และมีความชื่นชอบผลิตภัณฑ์ Mac เป็นพิเศษ สำหรับ Mac -OS มีทั้งเวอร์ชั่นแบบใช้งานส่วนบุคคลกับบนระบบเครือข่าย

https://damrongartsiriwanna.files.wordpress.com/2015/09/mac-os-x-lion-04-700x437.jpg

ยูนิกส์ (Unix)

       ระบบปฏิบัติการ Unix ได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2503 ถูกออกแบบเพื่อใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ระดับกลาง เป็นระบบปฏิบัติการที่มีรูปแบบการประมวลผลแบบมัลติยูสเซอร์และมัลติทาสกิ้ง นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงเมนเฟรม สามารถรันอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ได้ทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการ ที่ไม่ขึ้นกับแพล็ตฟอร์ม กล่าวคือ เป็นระบบเปิด (Open System) ที่มิได้ผูกติดกับระบบหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ใด เป็นการเฉพาะ ระบบปฏิบัติการ Unix ยังถูกนำไปสร้างเป็นระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆที่อยู่ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกันกับยูนิกซ์ ตัวอย่างเช่น Mac-OS และ Linux เป็นต้น

https://unixspu.files.wordpress.com/2013/03/1.jpg

ลินุกซ์ (Linux)

       ลินุกซ์จัดเป็นระบบปฏิบัติการสายพันธุ์หนึ่งของ Unix และยังเป็นระบบเปิดที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนานำไปปรับปรุงเพื่อแบ่งปันใช้งานบนอินเทอร์เน็ต แม้ว่า Linux  ฉบับดั้งเดิมนั้นจะมีอินเตอร์เฟซแบบ Command Line ก็ตาม แต่เวอร์ชั่นใหม่ๆ ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนอินเตอร์เฟซมาเป็นแบบ GUI และสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับลินุกซ์ประเทศไทย ได้รับการพัฒนาภายใต้หน่วยงาน NECTEC โดยใช้ชื่อว่า ลินุกซ์ทะเล (Linux Tle)

http://cdn.mos.techradar.com/art/software/Linux/Best%20desktop/linuxdesktops-gnome-1200-80.jpg

ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่

       ระบบปฏิบัติารที่ใช้งานบนเครื่องพีซี โน้ตบุ้ค และ เน็ตบุ้ค ส่วนใหญ่จะใช้ระบบปฏิบัติการตัวเดียวกัน แต่สำหรับอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต และอุปกรณ์พกพาต่างๆ จะใช้ระบบปฏิบัติการคนละตัว ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Operating System) ตัวอย่างเช่น ไมโครซอฟต์ มีระบบปฏิบัติการ Windows 7  ที่ใช้งานบนเครื่องพีซีหรือโน๊ตบุ้คทั่วไป แล้วยังมี Windows Phone ที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น และยังมีอีกหลายรุ่นที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ เช่น Android , iOS , Blackberry , HP webOS และ Symbain 

Windows Phone

       วินโดวส์โฟนเป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่เวอร์ชั่นใหม่ที่รองรับการป้อนข้อมูลผ่านจอภาพแบบสัมผัส กับการออกแบบอินเตอร์เฟซในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Start Screen Interface เป็นระบบที่รองรับลักษณะงานแบบมัลติทาสกิ้ง นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติการแสดงข้อมูลแบบเรียลไทม์ในเรื่องของเบอร์ที่ไม่ได้รับสาย ข้อความที่ไม่ได้อ่าน การอัปเดตเครือข่ายสังคม และแสดงเนื้อหาอื่นๆ ที่มีความน่าสนใจไปยังผู้ใช้โทรศัพท์แบบทันเวลา ความสามารถในการปรับแต่งตามที่ผู้ใช้ต้องการ การเชื่อมโยงไปยังแกลลอรี่ภาพถ่าย เว็บไซต์ และการเข้าถึงเว็บไซต์สโตร์ได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญ วินโดวส์โฟนที่ใช้งานบนโมบานเวอร์ชั่น ยังมีแอปพริเคชั่นที่ผู้ใช้คุ้นเคยกันดีบนเครื่องเดสก์ท็อป เช่นโปรแกรม Internet Explorer , MS-Excel และ PowerPoint ซึ่งสามารถดาวน์โหลดจาก Windows Phone  Marketplace 
   อย่างไรก็ตาม ค่ายไมโครซอฟต์นอกจากจะมีระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องพีซี เซิร์ฟเวอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างโมบายโฟนแล้ว ยังมี วินโวส์ เอ็มเบรเด็ด ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบฝังตัว ที่ออกแบบให้ใช้กับอุปกรณ์ใช้งานสำหรับผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ที่ไม่ใช่พีซีคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องบันทึกเงินสด อุปกรณ์นำทาง อุปกรณ์ทางการแพทย์ รถยนต์ หุ่นยนต์ เป็นต้น

https://www.google.co.th/1481686268583371

Android

     แอนดรอยด์  (Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกสร้างขึ้นจากพื้นฐานของลินุกซ์เพื่อใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถูกก่อตั้งโดยกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า Open Handset Alliance ที่มียักษ์ใหญ่แห่ง Google เข้าร่วมด้วย พร้อมกับบริษัทที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีกว่า 30 แห่งและกลุ่มบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่และในฐานะที่เป็นระบบปฏิบัติการน้องใหม่ แอนดรอยด์ถูกสร้างขึ้นจากจุดเริ่มต้นจนสามารถยกระดับความสามารถของระบบปฏิบัติการเคลื่อนที่ ที่ฝังอยู่ในใจของผู้ใช้มากมายทั่วโลกโดยเหล่าพัฒนาทั้งหลาย สามารถสร้างแอปพริเคชั่นบนมือถือเพื่อเติมเต็มคุณสมบัติที่เป็นข้อดีต่างๆทั้งหลายที่อยู่ในอุปกรณ์มือถือที่ควรมี และด้วยแอนดรอยด์เกิดจากแพล็ตฟอร์มระบบเปิด จึงทำให้ผู้คนสามารถดาวน์โหลดแล้วนำมาใช้ได้ฟรี อีกทั้งยังไม่ผูกติดกับฮาร์ดแว์ที่ผลิตมาจากโรงงานใดๆ ปัจจุบันระบบแอนดรอยด์มีเวอร์ชั่นต่างๆมากมาย เช่น Android 2.3 , Android 3.0 , Android 4.0 และ Android 4.1 เป็นต้นโดยเฉพาะเวอร์ชั่นใหม่ๆของแอนดรอยด์จะออกแบบใช้งานสำหรับอุปกรณ์แสดงผลที่มีจอภาพใหญ่อย่างแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ยังรองรับระบบมัลติทาสกิ้ง และโปรเซสเซอร์แบบมัติคอร์ ทั้งนี้ มีแอปพริเคชั่นจำนวนมากที่พัฒนาขึ้นใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 
นอกจากโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตแล้ว  แอนดรอยด์ยังมีเวอร์ชั่นที่ใช้กับอุปกรณ์อย่าง Google TV  และเวอร์ชั่นที่ใช้กับ PlayStation Phone จากค่ายโซนี่ ที่สำคัญแอนดรอยด์ยังถูกคาดหมายว่าจะถูกนำไปใช้งานบนอุปกรณ์ที่ใหญ่ขึ้น เช่น HDTV และโน๊ตบุ้คคอมพิวเตอร์ในอนาคตอันใกล้

https://keaunthz.files.wordpress.com/2013/06/android.png


Apple iOS

       ระบบปฏิบัติการที่ออกแบใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์พกพาอื่นๆ จากค่ายแอปเปิล เช่น iPhone และ iPad  นั่นก็คือ iOS โดน iOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Mac OS X ของแอปเปิลนั่นเอง รองรับลักษณะงานแบบมัลติทาสกิ้งเช่นกัน มี App Store เป็นเว็บไซต์แหล่งรวมแอปพลิเคชั่นนับร้อยพันที่มีความน่าสนใจไม่น้อย โดยได้จัดเตรียมไว้ให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ทั้งแบบฟรี และเสียเงิน เนื่องด้วย iOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ผูกติดกับผลิตภัณฑ์จากค่ายแอปเปิลเท่านั้น ซึ่งปกติจะมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มทั่วโลกที่มีความเหนียวแน่นอยู่แล้ว สำหรับคู่แข่งของ iOS  ก็คือ Android นั่นเอง

https://cdn2.pcadvisor.co.uk/cmsdata/features/3454581/iOS_7_home_screen_thumb.jpg

BlackBery OS และ BlackBery Tablet OS

       ระบบปฏิบัติการ BlackBerry OS ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานสำหรับอุปกรณ์ของแบล็คเบอรี่สนับสนุนลักษณะการทำงานแบบมัลติทาสกิ้ง รวมถึงคุณลักษณะอื่นๆ ที่พึ่งมี ซึ่งคล้ายกันกับระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์คลื่อนที่ค่ายอื่นๆ โดย BlackBerry OS  นอกจากใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้แล้ว ยังมี BlackBerry Tablet OS ที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานกับแท็บเล็ตที่เรียกว่า BlackBerry PlayBook โดยแหล่งแอปพริเคชั่นต่างและเกมส์ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเพื่อดาวน์โหลดได้ผ่าน BlackBerry App World

https://www.bbnews.pl/wp-content/uploads/2014/06/BlackBerry-OS-10-3-Icons-to-Sport-a-Flat-Design1.jpg

HP webOS

       HP webOS หรือรู้จักกันในอีกชื่อนึงว่า Palm webOS เป็นระบบปฎิบัติการบนโทรศัพท์มือถือที่พัฒนามากจากพื้นฐานของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อนใช้งานบนเครื่องปาล์ม เช่น Plam Pre และ HP Veer เป็นระบบที่สนับสนุนลักษณะการทำงานแบบมัติทาสกิ้งรวมถึงคุณสมบัติด้านอื่นๆ เช่นเดียวกันกับระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือตัวอื่นๆ ทั้งนี้ หากผู้ใช้ต้องการแอปพริเคชั่นก็สามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน App Catalog


http://www.webosnation.com/sites/webosnation.com/files/imagecache/large/resource_images/t/top_20_TouchPad_Apps.png

Symbian OS 

       Symbian OS เป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือ ที่บริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่อย่างโนเกียร์ ได้นำมาใช้ยาวนานกว่า 10 ปี และนิยมแพรหลายทั่วโลก (ตั้งแต่ยุคสมัยโทรศัพท์แบบปุ่มกด) แต่ด้วยจำนวนคู่แข่งที่เข้ามาเจาะตลาดกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟนมากขึ้น จึงทำให้ยอดการใช้งานระบบปฏิบัติการนี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยหันไปใช้ระบบปฏิบัติการจากค่ายไมโครซอฟต์แทน (Windows Phone)

https://www.file-extensions.org/imgs/app-picture/2022/symbian-os.jpg



อ้างอิง

       หนังสือเรียนวิชา การใช้งานระบบปฏิบัติการ